Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 570 จำนวนผู้เข้าชม |
คำว่า"ปลอดสาร" กับ "อินทรีย์"
ต่างกันอย่างไร มากน้อยเพียงใด
.
เชื่อว่าหลายท่านคงได้ยินและคุ้นเคย
กับคำว่า อินทรีย์ หรือ ออแกนิค(Organic)
เพราะเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในไทย เช่น
.
ข้าวอินทรีย์ หรือ ข้าวออร์แกนิค
เป็นข้าวที่ปลูกโดยงดสารเคมี
งดยาฆ่าแมลง งดเมล็ดพันธุ์GMO ฯลฯ
ดังภาพที่หนึ่ง ที่แอดมินขออนุญาต
นำมาจากกูเกิ้ลเพื่อเป็นวิทยาทาน
แก่ผู้ติดตามอ่าน เพราะเห็นว่าเข้าใจง่ายดี
.
ส่วนข้าวที่เราปลูกกันทั่วไป
แบบใส่อะไร ตามอัธยาศัย
เคยปลูก เคยใส่อะไรก็ใส่ตามกันมา
เช่น ใส่ยูเรีย ใส่สูตร 15-15-15 หรือ
แม้กระทั่งฉีดพ่นยาคุมหญ้า(ควบคุม)
เรียกว่า Conventional rice หรือ ข้าวทั่วไป
ที่ขายเข้าโรงสี หรือ อยู่ภายใต้กลไกราคาตลาด
.
แล้วทำข้าวออร์แกนิค หรือ ข้าวอินทรีย์
จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ข้าวนั้นไม่มีสารเคมี
ไม่มีสารพิษ ไม่มีสิ่งอันตรายใด ๆ เจือปนเลย
แอดมินขอแบ่ง โดยใช้เกณฑ์ทางการตลาด
เนื่องจากพวกเราปลูกข้าว เพื่อสร้างมูลค่า
แบบเป็นรูปธรรม ด้วยการตรวจรับรองมาตรฐาน
โดยบุคคลที่สาม เพื่อช่วยรับประกันให้กับคนซื้อ
ว่าข้าวของเราปลอดภัยจริง
โดยเกณฑ์การแบ่งตามภาพที่สอง
น่าจะพอทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นบ้าง
(ภาพจาก สนง.ตรวจรับรองมาตรฐานระดับโลก) ว่า
1.เราปลูกข้าว พืช ผักผลไม้
เพื่อกินเอง เราจะใส่อะไร ปลูกอย่างไร
เราย่อมรู้อยู่แก่ใจเราเองอยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจรับรองใด ๆ ก็ได้
2.แต่ถ้าขยับขึ้นมาปลูก เพื่อขายระดับท้องถิ่น
จะมีการตรวจรับรอง หรือไม่มีก็ได้อีกเช่นกัน
เช่นแบ่งขายให้เพื่อน ๆ หรือขายตามตลาดนัด
หรือ ขายแบบออนไลน์
ส่วนใหญ่ก็บอกว่าของตนเอง
เป็นออร์แกนิค หรือ ปลอดสาร
3.ปลูกเพื่อขายในระดับจังหวัด-ระดับประเทศ
หรือส่งขายในโมเดิร์นเทรด ที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
อันนี้จะเป็นรูปธรรมขึ้นมาหน่อย
เพราะห้างต่าง ๆ บังคับว่า ต้องมีการตรวจรับรอง
โดยบุคคลที่สาม หรือ Third party มีระบบ
เอกสาร การตรวจต่าง ๆ เป็นเรื่องเป็นราว
เช่น ออร์แกนิคไทยแลนด์ ที่รัฐสนับสนุน เป็นต้น
.
4.ปลูกเพื่อขายระดับประเทศ-ระดับโลก
ส่งขายผ่านห้างออแกนิคโดยเฉพาะ หรือ
ส่งออกผ่านเทรดเดอร์ หรือแม้แต่ส่งออกเอง
ข้อนี้สำคัญ ต้องมีบุคคลที่สาม การันตีให้
เอกสารต่าง ๆ ต้องแม่นยำ ตั้งแต่
วันที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อจากใคร
ลงดินเมื่อไร ใส่อะไรบ้าง
การเก็บเกี่ยวแล้ว เก็บอย่างไร
บรรจุใส่อะไร ส่งมอบกันแบบไหน
ไปจนถึงการส่งผลผลิตตรวจแล็บ(Labs)กันเลยทีเดียว
.
จากบทความข้างต้น
มีสองประเด็นหลักสำคัญ
ที่อยากแนะนำคือ
1.คำว่า"ออร์แกนิค"ในประเทศไทย
ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย ใครอยากปลูก
ใครอยากตั้งชื่อยังไง ก็ทำได้ตามอัธยาศัย
แต่สหภาพยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี
เขาให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยทางอาหาร
จึงมีสภาพบังคับทางกฎหมายที่เด็ดขาด
.
2.คำถามคือ จำเป็นต้องตรวจรับรองมาตรฐาน
ระดับยุโรป อเมริกา เหมือนกันหมดไหม?
คำตอบคือ ตลาดของท่านอยู่ที่ไหน
ท่านก็เลือกเอาเองว่า จะสร้างความมั่นใจ
ให้กับลูกค้าของท่านอย่างไรดี
เนื่องจากพวกเรา"ชาวนาขายข้าวเอง"
เน้นการขายข้าว ผลผลิต เพื่อสร้างรายได้
ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
แบบเป็นรูปธรรม จับต้องได้(ขายฟังก์ชั่น)
เราจึงใช้การตรวจรับรองมาตรฐาน
ในระดับยุโรปและอเมริกา เพื่อ
สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่กล้าจ่ายแพง
โดยดูทิศทางการตลาดโลก(ดังภาพที่สาม)
ที่เทรนด์การบริโภคอาหารปลอดภัย
มีมูลค่าที่สูงมาก ๆ
ดังนั้น การแข่งขันของเรา
ก็จะเป็นการแข่งขันกับตนเอง
การพัฒนากลุ่มเกษตรกร
มากกว่าการแข่งขันกับ เกษตรกรรายอื่น
ที่ปลูกข้าว หรือพืชแบบทั่วไป(Conventional)นั่นเอง
จะเรียกว่าเป็นตลาดข้าวพิเศษ(Premium)
หรือ Niche Market ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
13 ธ.ค. 2567
28 ม.ค. 2564
30 ต.ค. 2567