เมื่อกลไกรัฐไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนงั้นเอื้อให้ใครกัน?

Last updated: 25 ม.ค. 2564  |  2274 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อกลไกรัฐไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนงั้นเอื้อให้ใครกัน?

#ม็อบเกษตรกร คือ
การเคลื่อนไหวเพื่อยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐ
ให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดกับพี่น้องเกษตรกร
.
ทางกลุ่ม E-Rice Thai Farmers
ก็เล็งเห็นปัญหาเช่นกัน และ
มองว่าภาพรวมของปัญหา
ที่เกิดขึ้นกับชาวนาไทยนั้นมีดังต่อไปนี้
.
.
1.ปัญหาหนี้สินนายทุน
2.ปัญหาของโรงสี กลไกลการนำข้าวไปขายที่โรงสี
ซึ่ง E-Rice Thai Farmers เชื่อว่าเป็นกลไกที่
เอื้อให้นายทุนมากกว่าเกษตรกร
3.ปัญหาระดับประเทศที่กลไกลรัฐเอื้อประโยชน์ให้นายทุนใหญ่
ถึงขนาดที่กลุ่มนายทุนบางกลุ่มมีคนเข้าไปนั่งในสภา
หรือเข้าไปออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องได้
ซึ่งถ้าว่ากันตามหลักประเทศที่เจริญแล้ว นี่คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะทำให้กลายเป็นการผูกขาดทางการค้าในที่สุด
.
.
“มี ส.ส.ท่านหนึ่งพูดในสภาว่า
การแก้ปัญหาชองชาวนาในกระดุมเม็ดแรก
คือเรื่องที่ดินทำกิน
แต่สำหรับพวกเราชาวนากลับคิดว่า
.
กระดุมเม็ดแรกของพวกเรา คือ กฎหมาย
การแก้กฎหมายที่ออกมาแล้ว
ไม่สอดคล้องกับการทำงานของเกษตรกร
ให้ถูกต้องควรเป็น
ดังนั้นโครงสร้างใหญ่ที่เราอยากฝากไว้คือ
เรื่องการออกกฎหมาย มันคือโครงสร้างระดับชาติ
.
บางครั้งพวกเรามองว่า เราเลือก ส.ส.คนหนึ่งเข้าไปสภา
เพื่อหวังให้เขาเป็นตัวแทนพวกเราชาวนา
แต่มันก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น
การตั้งคณะทำงานหลังรัฐประหาร หรือการเลือก สว.
เขากลับมีบทบาทในการออกกฎหมายด้วย"
.
.
สำหรับกระดุมเม็ดที่สอง เม็ดที่สาม
เขามองว่าคือปัญหารองลงมาจากนั้น
อย่างเรื่องโครงสร้างหนี้ ราคาข้าว หรือดอกเบี้ยต่างๆ
เพราะหากกฎหมายออกมาแล้ว
มีความยุติธรรมต่อเกษตรกร ต่อให้เป็นหนี้
เกษตรกรทุกคนก็จะสามารถใช้หนี้ได้
.
“มีคำกล่าวที่เราจะได้ยินกับบ่อยๆ ว่า
ชนชั้นใดออกกฎหมาย ก็จะออกอย่างเอื้อต่อชนชั้นนั้น
เพราะฉะนั้นหากนายทุนเข้าไปในสภา
เขาก็สามารถออกกฎหมายเอื้อพวกเขาได้ และ
มันมีโอกาสน้อยมากที่เราชาวนา
หรือตัวแทนของพวกเราจะมีสิทธิ์มีเสียงอย่างเต็มที่”

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้