Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 1264 จำนวนผู้เข้าชม |
"ตากข้าวบนถนน
จำเป็น หรือ มักง่าย ตอนที่๓"
.
.
.
.
หลังจากเรียบเรียงให้เห็น
ถึงบริบท ความเป็นมาของวัฒนธรรม
การเกี่ยวข้าวของชาวนาอิสานเป็นเฟส(phase)
จะเห็นว่า การเกี่ยว-ตากข้าว
มีพัฒนาการที่เป็นไปตามยุคสมัย
รวมถึงกระแสเศรษฐกิจ ที่มีเรื่องเงินทุน
หนี้สินจากธนาคารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
.
.
.
ตอนที่๓ นี้ การเกี่ยวข้าวยุคหลังๆ
จะนิยมใช้รถเกี่ยวที่ต้องจองคิวกัน
บางถิ่น จะปรับแม้กระทั่งคันนา
ให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับรถเกี่ยว
ที่มีหน้าใบมีด 3-5 เมตร วิ่งไปกลับ
ไม่กี่รอบก็เกี่ยวได้ครบแล้ว
.
บางถิ่น รถเกี่ยวจะมาจากนอกพื้นที่
เพราะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
รถเกี่ยวในพื้นที่ ที่มีขนาดเล็ก
ดังจะเห็นเทศบาล อบต.หลายแห่ง
ออกประกาศ ห้ามรถเกี่ยวนอกพื้นที่
เข้ามารับงานเกี่ยวข้าวพื้นที่ตัวเอง
มองในแง่ดี ก็ป้องกันการทำดินโคลน
เลอะเทอะเปรอะเปื้อนถนน
.
มองอีกแง่ คนที่มีเงินซื้อรถเกี่ยวข้าว
คันละเป็นล้าน ก็ข้าราชการในท้องที่นั่นแหละ
.
.
วัฒนธรรมการเกี่ยวข้าว
สืบเนื่องจาก แรงงานคนหายาก
เวลาเป็นเงินเป็นทอง(ว่างั้น)
ข้าวที่สุก ต้องรีบเกี่ยวให้ก่อนจะร่วงหมด
.
รถเกี่ยวที่เกี่ยวข้าวออกมาจากรวง
ข้าวจะสดอยู่ มีความชื้นสูง
.
ชาวนาบางคน ปลูกข้าวไว้กินเอง
หากจ้างรถเกี่ยว ก็จะนำมาตากเสียก่อน
(อ้าววว การตากเริ่มมาแล้วนะ)
ส่วนใหญ่ จะนิยมตากตามหัวไร่ปลายนา
พื้นที่ว่างข้างบ้าน
.
.
บ้านผมเอง ถ้าเราหาคนเกี่ยวข้าวไม่ได้
ข้าวสุกจนกรอบ(ขอบ-ภาษาอิสาน)
เราก็จำเป็นต้องจ้างรถเกี่ยว
.
แต่เราจะตากที่ลานหน้าบ้านตนเองเท่านั้น*
แม้จะมีพื้นที่ แค่ 3-4 ตร.ม. ก็ตากแดด
หมั่นพลิก หมั่นเก็บหนีฝน(มีฝนหลงทุกปี)
"ไม่มีการไปตากบนถนนหลวงทุกกรณี"
.
.
ชาวนาบางแห่ง จะรวมตัวกัน
จัดระบบการตาก ตามลานวัด
ลานเอนกประสงค์ ของ อบต.หรือเทศบาล
บางแห่ง ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการ
มีคิวให้เข้ามาตากได้ คิดค่าการจัดการเรียบร้อย
.
ชาวนาบางคน ขี้เกียจตาก ก็ขายเป็นข้าวสด
โดนหักเปอร์เซ็นต์ หักค่าความชื้นตามกลไก
.
.
.
.
.
.
ชาวนาบางคน ไม่อยากขนข้าว
ไม่อยากมาต่อคิว ไม่อยากเสียค่าน้ำมัน
ไม่อยากเสียค่าแรงงาน ขนข้าวมาตาก
ตามที่ว่างในชุมชน อาศัยว่ามีถนนใกล้นา
รถไม่ค่อยผ่าน หรือผ่านบ่อย ตากไปเลย
จะครึ่งเลน เต็มเลน ไม่ได้คิดถึงผลที่จะตามมา
.
.
มันคือ"ความมักง่าย
ที่อาศัยความเป็นชาวนาบังหน้า
ด้วยการผลักภาระ
มาให้กับคนใช้สัญจรบนถนน"
.
ไม่ว่าจะถนนหลวง ถนนตามหมู่บ้าน
พอเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็ตีหน้าเศร้า
.
.
.
อ่านถึงตรงนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า
พวกเราทำโครงการชาวนาขายข้าวเอง
เพราะต้องการ"สร้างมาตรฐานของชาวนา
สร้างจรรยาบรรณของอาชีพชาวนา
สร้างศักดิ์ศรีของชาวนา"
.
ไม่อยากให้ภาพของชาวนา
ที่คนนึกถึงคืออาชีพที่ยากจน
อาชีพที่รอรับแต่ความช่วยเหลือ
เพราะมีคนอ้างความเป็นชาวนา
หากินมาทุกยุคทุกสมัย
.
.
.
การมักง่าย ตากข้าวบนถนน
แล้วทำให้คนอื่นเดือดร้อน
สมควรแล้ว ที่คนตากจะโดนด่า
.
การเกิดอุบัติเหตุจากการตากข้าว
สมควรแล้วที่จะโดนดำเนินคดีตามกฎหมาย
.
.
.
ผมเป็นชาวนาคนหนึ่ง
ที่อยากมีศักดิ์ศรี
ไม่อยากให้คนด่า
ไม่อยากให้คนดูถูกอาชีพของพวกเรา
แล้วก็ไม่ต้องไปทวงบุญคุณเลอะเทอะกัน
ทุกอย่างมันมีต้นทุน ตามระบบของมันอยู่แล้ว
.
.
แล้วผมจะสรุปอีก 1 ตอน
สำหรับการแก้ปัญหา
จากมุมมองชาวนาคนหนึ่งครับ
(กำลังอัพโหลดคลิบรถเกี่ยว)
28 ธ.ค. 2566
30 ต.ค. 2567
28 ม.ค. 2564