Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 2960 จำนวนผู้เข้าชม |
"ข้าว"
ช่วงนี้ หลายพื้นที่เริ่มเกี่ยวข้าวกันแล้ว
เอ๊ะ เพิ่งเดือนตุลาคมเอง ทำไมเกี่ยวข้าวแล้ว
ปกติ ต้องเกี่ยวกันเดือน พฤศจิกา-ธันวานี่นา?
.
.
.
ในประเทศไทยมีมากมายหลายสายพันธุ์
ผมจะแบ่งตามความเข้าใจ จากการทำนา
รวบรวมเก็บข้อมูลมาเองตลอดระยะเวลา 6-7 ปี
.
จริง ๆ เป็นลูกชาวนา แต่ไม่เคยสนใจสิ่งที่ตายาย พ่อแม่ทำ
เพราะพวกท่านจะสอนเพียงว่า ให้ตั้งใจเรียน ให้ได้งานดีดี
จะได้ไม่ต้องกลับมาทำนา เพราะมันลำบาก
.
.
ก่อนอื่นต้องเท้าความถึง กรมการข้าวก่อน(มีสาระนิดนึง)
การแบ่งข้าวของกรมการข้าว(ตามที่ผมเข้าใจคือ) การแบ่งแบบ
.
1.ข้าวเจ้า หรือข้าวที่มี อะไมโลส(Amilos)
หรือเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ อยู่ระหว่าง 8-13%
โดยจะใช้รหัสนำหน้าคือ กข ตามด้วยเลขคู่ เช่น
.
กข 105 หมายถึง ข้าวขาวดอกมะลิ
ที่ทดลองปรับปรุงพันธุ์ โดยกรมการข้าว(คำย่อ-กข)
ในแปลงที่ 105
ลักษณะ เม็ดขาวขุ่น ยาวใหญ่ มีกลิ่นหอมฟุ้ง
อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 110-120 วัน
ให้ผลผลิตได้ดีในนาปี นาดินร่วนปนทราย
นิยมเรียก(บางถิ่น)ว่า มะลิใหญ่
.
กข 15 หมายถึง ข้าวขาวดอกมะลิ
ที่ทดลองโดยกรมการข้าว(อีกนั่นแหละ)
ในแปลงที่ 15
ลักษณะ เม็ดขาวขุ่น แต่สั้น มีกลิ่นหอมสูง
อายุ เก็บเกี่ยวประมาณ 80-90 วัน
นิยมเรียก(บางถิ่น)ว่า มะลิเล็ก บ้างก็เรียกข้าว"ดอ"
.
วิธีจำง่าย ๆ คือ ข้าวเจ้า
เลขรหัส จะเป็นเลขคี่ เช่น กข 105, กข 15 , กข 43 เป็นต้น
.
Q:แล้วข้าวที่เขาทำนาตลอดปี 3-4 เดือน
เก็บเกี่ยวกันทีนึง แบบนี้ไม่รวยแย่เลยเหรอ?
A:ข้าวที่ชาวนาปลูกได้ตลอดปี นอกจากต้องมีน้ำ
(ใกล้แม่น้ำ หรือระบบชลประทาน) ยังต้องเป็น
ข้าวไวแสง* อุ๊ยยย แล้วมันแปลว่าอะไรฮับ??
.
ข้าวไวแสงคือ ข้าวที่สามาถปลูกได้ในช่วงระยะเวลา
ที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน
ทำให้ข้าวสามารถสังเคราะห์แสงได้ตลอด
จำพวกข้าวนาปรัง เช่น ชัยนาท 1 และ กข 57 เป็นต้น
(ชื่อพันธุ์ ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย กข(รับรองพันธุ์โดยกรมการข้าว)
และ ชื่อสถานที่ของศูนย์วิจัย)
.
ข้าวไม่ไวแสง คือข้าวที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ดี
ในช่วงเวลาที่"กลางคืน ยาวนานกว่ากลางวัน"
(ช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม) เช่น กข 105 และ กข 15
ซึ่งเป็นข้าวนาปีที่ปลูกได้เพียงปีละครั้ง จึงจะสามารถ
ให้ผลผลิตได้เต็มที่ ทั้งคุณลักษณ์ ความหอม นุ่ม
นิยมส่งออก เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศสูง
.
.
2.ข้าวเหนียว หรือข้าวที่มีอะไมโลส
หรือเปอร์เซ็นต์แป้งสูงกว่า 13% ขึ้นไป
ก็ข้าวแป้งเยอะนั่นแหละ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100-110 วัน
ฝรั่งเรียก Sticky rice บ้าง Glutinos rice ก็เรียก
อันนี้เอาตามความเข้าใจแบบบ้าน ๆ นะครับ
.
อย่าเพิ่งคิดว่าหนุ่มนาข้าวจะพาเข้าห้องสมุด
ที่จะอิงตำราเป๊ะ เพราะผมก็อาศัยจำเอา
จากการอ่านหนังสือ การเข้ารับการอบรม
จนถึงการเตรียมข้อมูล เพื่อไปบรรยายให้พี่น้องเกษตรกรฟัง เช่น
.
กข 6 คือข้าวเหนียว
ที่ทดลองโดยกรมการข้าว
นิยมปลูกกันมากในภาคอิสานและภาคเหนือ
เพราะคนอิสานและคนเหนือ นิยมกินข้าวเหนียว
.
ปัจจุบันจะประสบปัญหาโรคไหม้คอรวงมาก
(โรคไหม้ที่เกิดเวลาข้าวกำลังจะออกรวง
ทำให้ข้าวไม่มีน้ำหนัก เม็ดลีบ) หรือ
ภาษาอิสานเรียกว่าข้าวไม่"ถอก" หรือข้าวไม่"ต่ง" นั่นเอง
(วิธีแก้ไข จะมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป)
.
.
อันนี้เป็นเพียงสาระ(ส่วนตัว)คร่าว ๆ
ที่เอาเล่าให้ฟัง เป็นเกร็ดความรู้
เพราะเราทุกคนต้องกินข้าวทุกวัน
.
อย่างน้อย ๆ ต้องรู้จักว่า
ชาวนาเขาทำนากันอย่างไร
ต้องประสบกับปัญหาอะไรบ้าง
.
หมดยุคการทำนาแบบเดิม
คือการทำตามพ่อแม่ ตายาย
ที่พาปลูกข้าวไว้กินเหลือก็ขายแบบเดิมแล้ว
.
.
ตอนต่อไป จะมาเล่าให้ฟังว่า
การประยุกต์เลือกพันธุ์ข้าวมาปลูกนั้น
นอกจากต้องเลือกตามความต้องการของตลาด(Trends)แล้ว
เทคนิคการเลือกพันธุ์ เพื่อให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศ
ไปจนถึงการบริหารจัดการ เพื่อควบคุมต้นทุน ควรทำอย่างไรบ้าง
"หนุ่มนาข้าว"
.
27 ส.ค. 2567
1 มี.ค. 2567
13 มี.ค. 2567
15 มี.ค. 2567