Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 1865 จำนวนผู้เข้าชม |
"หนุ่มนาข้าว"
เริ่มต้นจากการส่งเงินค่าปุ๋ย ยา สารเคมี ค่ารถไถ ค่ารถเกี่ยว
กลับไปให้ที่บ้าน จ้างคนทำนาแทน
หวังแค่สิ้นปี กลับบ้าน เกี่ยวข้าวไปขาย
เพื่อได้เงินนำมาหมุนใช้เป็นต้นทุนของปีต่อ ๆ ไป
ข้าวที่เหลือ ก็พอได้กิน แทนการซื้อ
.
หลังจากถึงฤดูเก็บเกี่ยว เดินทางกลับบ้าน
ด้วยใจหวังว่าจะขายข้าวให้มีกำไร
.
นา 10 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียง 2-3 ตัน
เป็นข้าวที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งที่พื้นที่นา อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้
.
พอนำไปขายที่สหกรณ์
ที่ติดป้ายหน้าทางเข้าว่า รับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิ กก.ละ 14 บาท(ในปี 2557)
ทำให้พอมีกำลังใจว่า อย่างน้อย ข้าวเรา 2 ตัน คงพอได้ค่าปุ๋ยเคมีกลับคืน
.
เมื่อนำข้าวเข้าไปชั่ง และตรวจวัดตามขั้นตอน
ในตอนนั้นไม่รู้ว่าการรับซื้อข้าวเปลือก
จะต้องมีการตรวจเปอร์เซ็นต์ ตรวจค่าความชื้น
ตรวจสิงเจือปน ไปจนถึงการคำนวณราคาตามสูตรของโรงสี
.
ปรากฏว่า ข้าวชุดนั้น โรงสีรับซื้อได้เพียง กก.ละ 8 บาท
อ่านว่า รับซื้อกิโลกรัมละ แปดบาท จาก ป้าย 14 บาท
จึงเกิดการโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ ที่ตรวจข้าวว่า ไม่ถูกต้อง
ทั้งที่ข้าวเราคุณภาพดี(ตอนนั้น ไม่รู้ว่าคุณภาพดีจริงหรือเปล่า)
.
เขาบอกพวกเราแค่ว่า ข้าวมีสิ่งเจือปนเยอะ
เปอร์เซ็นต์ข้าวต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้รับซื้อได้เพียงราคา 8 บาท/กก.
ถ้าจะเอาราคานี้ ก็นำข้าวไปเท
ถ้าไปเอา ก็เลื่อนรถออก มันเกะกะคนอื่นที่ต่อคิว
.
พี่น้องคนอื่นที่มาด้วยกัน ต่างยอมรับสภาพ
เพราะจ้างรถขนมาแล้ว ก็ต้องยอมขาย
.
.
ส่วนเรา ยอมขนกลับ
ด้วยความโกรธ ว่าเหมือนโดนเอาเปรียบ
เอาเปรียบด้วยกลไก ที่เราไม่มีโอกาสได้ต่อสู้
.
เป็นที่มาของการเป็น "ชาวนาขายข้าวเอง"
ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุ
หลังจากข้าวสองตันแรก ทำให้เราใส่ใจในการทำนา
เรียนรู้ หาข้อมูลการทำนา การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
จนได้ข้าวที่คุณภาพดีที่สุดในปัจจุบัน
1 มี.ค. 2567
13 มี.ค. 2567
27 ส.ค. 2567
15 มี.ค. 2567