"การกินข้าวเป็นยา" รักษาโรคได้จริงไหม? หรือแค่วาทะกรรม??

Last updated: 29 ก.ย. 2566  |  3299 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"การกินข้าวเป็นยา" รักษาโรคได้จริงไหม? หรือแค่วาทะกรรม??

"กินข้าวเป็นยา"


.


ฟังดูดีมาก ๆ เลย
แต่ในทางปฏิบัติ ทำได้ยาก
โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่ชอบกินข้าวกล้อง
(ข้าวกล้องคือข้าวที่กระเทาะเปลือก ไม่ขัดเยื่อหุ่มเมล็ด)


แอดมินเอง ก็ทดลอง หัดกินอยู่นาน
เริ่มจากผสม กับข้าวหอมมะลิ
จากทีละน้อย จนถึงปัจจุบัน
สามารถหุงกินเพียว ๆ ได้เลย


.


แล้วคำว่ากินข้าวเป็นยานี่
กินแล้ว มันหายทันทีไหม


ยกตัวอย่างแบบนี้
คนที่ป่วยด้านต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์
หรือป่วยด้วยอาหารการกิน


เขาไมไ่ด้อยู่ดีดีก็ป่วย
ถ้ากรรมพันธุ์ อาการจะแสดงผล
ก็ต่อเมื่อร่างกาย(เซล) อ่อนแอ
ภูมิต้านทานลดลงจนไม่ไหว


อาการป่วยก็เริ่มแสดงออกมา
คนป่วยเพราะอาหารการกิน


ก็เพราะกินอาหารที่ไม่สะอาด
ไม่ปลอดภัย สะสมมาเรื่อย ๆ
จนร่างกายอีกนั่นแหละ ที่รับไม่ไหว
จึงเกิดการเจ็บป่วย


การกินข้าวเป็นยา โดยเลือกข้าว
ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ที่เหมาะกับโรค หรืออาการป่วยที่เป็น


เช่น


ข้าวกล้อง(ไม่ขัดเยื่อ) มีไฟเบอร์ วิตามินบีสูง
ข้าวมะลินิล มีแอนโทไซยานีน/แอนติเอจจิ้ง/แอนติออกซิแดนซ์
ข้าวมะลิแดง บำรุงหัวใจ ลดความดัน
ข้าวทับทิมชุมแพ มีฟลาโววินอยด์ ต้านเบาหวาน low gi
ข้าวผกาอำปึล บำรุงระบบประสาท
เป็นต้น


โดยเป็นการกินทุกวัน
เริ่มจากผสมกับข้าวปกติที่เรากิน
ค่อยเพิ่มสัดส่วนทีละนิด


.


กินข้าวเป็นยา
ไม่ใช่ป่วยมา กินแล้ว หายขาดทันที
ต้องค่อย ๆ กิน ปรับนิสัยการกินอาหาร
ด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย


เพราะงานวิจัยด้านต่าง ๆที่รองรับ
คือ ร่างกายคนเราจะรับสารอาหาร
เท่าที่ร่างกายขาด หรือจำเป็น


พูดง่าย ๆ ร่างกายขาด แค่ 5 ส่วน
กินมื้อละ100 ส่วน นำไปใช้ได้จริง 5
ที่เหลือ 95 ก็ถูกขับออกมาเป็นของเสีย


ดังนั้นการกินข้าวเป็นยา
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการดูแลร่างกาย
ดูแลสุขภาพ ทั้งที่ป่วยแล้ว ยังไม่ป่วย


ด้วยการเลือกอาหารที่ดี
ปลอดภัยกับร่างกายของเราเอง
การไม่มีโรค คือลาภอันประเสริฐครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้