ทำไมสนับสนุนการปลูกข้าวหอมมะลิมากกว่าช้าวชนิดอื่นในอิสาน?

Last updated: 29 ก.ย. 2566  |  1269 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมสนับสนุนการปลูกข้าวหอมมะลิมากกว่าช้าวชนิดอื่นในอิสาน?

มีเรื่องกลไกรัฐอีกเรื่อง(จากหลายเรื่อง)
ที่อยากเอามาเล่าให้ฟัง
ว่ามันคือ"กลไกที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ชาวนา"
.
.
พยายามเลือกรูปที่จะเอามาลงอยู่นาน
เพราะกลัวว่าลงไป จะโดนบุคคลที่3-4-5
ยิ่งเนื้อหาที่เราลง ก็สับกลไกรัฐโดยตรง
ประเดี๋ยวท่าน ๆ ในภาพ
พากันมาฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ก็จะเดือดร้อนกันไปใหญ่
จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเขา
.
.
แอดมินได้รับเชิญ(เชิญแหละ)
จากพี่ ๆ ที่ มทร.อิสาน วข.ร้อยเอ็ด
และ นักวิจัยผู้คิดค้นพันธุ์ข้าวสีดำ สีแดง
ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าวแล้ว
(ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมข้าว 9 กรมการข้าว)
เพื่อไปร่วมหารือ กับหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับจังหวัด ในการหาช่องทางสร้างรายได้
ให้กับชาวนา ด้วยข้าวพันธุ์ใหม่
ที่นอกเหนือจากข้าวหอมมะลิ
.
.
เรื่องข้าวสี(Color rice) ขอไม่พูดถึง
ลองย้อนอ่านในเพจเอาก็ได้
เพราะลงไว้เยอะแล้ว
.
แต่จะพูดถึง "กลไกรัฐที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ชาวนา"
ว่ามีความเกี่ยวโยง สัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง?
.
.
ราชมงคลอิสาน เป็นเจ้าภาพการประชุมร่วม
นำเสนอข้าวพันธุ์ทับทิมชุม ที่เป็นทางเลือกใหม่
เนื่องจากสามารถปลูกได้ทุกฤดู
มีค่า GI(Glycemic Index)หรือดัชนีน้ำตาลต่ำ
เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน ความดัน
จนปัจจุบัน สามารถนำเยื่อหุ้มเมล็ดมาสกัด
เป็นยาต้านเบาหวาน มีงานวิจัยรองรับได้แล้ว
ขายเป็นข้าวสารก็ราคาดีกว่าข้าวหอมมะลิ
.
.
ดังนั้น ราชมงคลอิสาน จึงเชิญผู้คิดค้นพันธุ์ข้าว
มาให้ความรู้ กับหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด
เพื่อหารือในด้านการส่งเสริมให้เกษตรกรทุ่งกุลาฯ
ปลูกข้าวพันธุ์นี้ เพื่อทดแทนข้าวหอมมะลิ
ที่ถึงฤดูเก็บเกี่ยว ก็จะเกี่ยวพร้อมกันราว ๆ 1 ล้านกว่าไร่
(อันนี้เฉพาะเขตทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีพื้นที่ 2 ล้านไร่)
.
ทำให้ข้าวล้นตลาด โดนกลไกการกดราคา
ที่โรงสี พ่อค้า ตั้งท่ารอซื้อ เพื่อเอาไปปรับปรุงคุณภาพ
แล้วส่งออกให้ได้แชมป์โลกไงคุณ)
.
ซึ่งกลไกรัฐส่วนนี้ก็เอื้อให้โรงสี
เอื้อให้นายทุนอยู่แล้ว
.
ลองคิดดู ชาวบ้านเกี่ยวข้าวแล้วต้องรีบขาย
จะขายสด ขายแห้ง(ตาก) ก็ต้องขาย
เพราะนอกจากหนี้สินครัวเรือนที่ต้องกินต้องใช้
ค่าต้นทุนการผลิตต่าง ๆ ที่มาจ่อคิวแล้ว
.
เกี่ยวข้าวเดือน พย.- ธค. ของทุกปี
พอเดือน กพ.-มีค. ก็ครบกำหนดใช้หนี้ธนาคาร
มารอเรียบร้อยแล้ว ไม่รีบขายจะทำไง
.
ไม่รวมต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นทุกปี
แต่ราคาข้าว ต่ำลงทุกปี
โดยเฉพาะช่วงเก็บเกี่ยว
แล้วราคาไปสูงขึ้น ตอนที่ข้าวอยู่ในมือโรงสี/พ่อค้าหมดแล้ว
ก็เป็นเพราะกลไกรัฐที่เอื้อให้เขาไม่ใช่หรอกหรือ??
.
.
จบตอนแรกก่อน
ขอปูพื้น เพื่อเข้าเนื้อหากลไกรัฐ
ที่ขวางคลองจริง ๆ ในตอนที่ ๒
.
.
ใครอยากอ่านต่อ
ถ้าไม่สั่งข้าว ก็ลงชื่อไว้เลย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้