ประเพณี"บุญข้าวสาก" เพ็ญเดือนสิบ ยามปู่ยามย่า

Last updated: 29 ก.ย. 2566  |  2392 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเพณี"บุญข้าวสาก" เพ็ญเดือนสิบ ยามปู่ยามย่า

เช้านี้ที่ตลาดสดคึกคักเป็นพิเศษ
เป็นเพราะอยู่ในช่วงเทศกาล


“บุญข้าวสาก” ,
“ยามปู่ยามย่า”,
“ยายข้าวสาก”

.
แปลคำศัพท์อิสาน(ภาษาลาว)
ยาม - เยี่ยมเยียน
ยาย - วาวกระจัดกระจาย
ข้าวสาก - อาหารห่อเล็กๆน้อยๆ(ห่อข้าว)
ที่เอาไปวางตาทโคนต้นไม้ เจดีย์
ในเช้ามืดเดือนสิบ

.

.
ประเพณีเดือนสิบของคนอิสาน
ช่วงนี้จะเป็นช่วง”ยามปู่ยามย่า”
กล่าวคือ ลูกหลาน จะกลับบ้าน
ออกตระเวนเยี่ยม ปู่ย่าตายาย
ด้วยการเตรียมผลไม้ หมากพลูต่าง ๆ
เป็นนัยคือ ลูกหลานได้ทำความรู้จัก
กับปู่ย่าตายาย ทั้งญาติใกล้ชิดและ
ญาติห่าง ๆ ด้วยของไหว้คือ หมากพลู

.
ส่วนปู่ย่าตายาย ก็จะเตรียมขนมนมเนย
หรือเงินขวัญถุงไว้ติดกระเป๋าให้ลูกหลาน
ที่เข้ามาหา ลูกคนนั้น หลานคนนี่
เป็นหลานปู่ หลานย่า ลำดับชั้นไหน
.
.
ส่วนการนำ”ข้าวสาก” ไป “ยาย”
ตามโคนต้นไม้ หัวไร่ปลายนา
เป็นมายาคติของคนโบราณคือ
วันเพ็ญเดือนสิบ วิญญาณบรรพบุรุษ
ที่ล่วงลับไปแล้ว และยังไม่ได้ไปสู่ภพภูมิใหม่

.
บ้างยังวนเวียนเฝ้าที่ดิน
บ้างยังเป็นผู้พเนจรอาศัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
บ้างไม่เคยได้รับส่วนบุญ อดอยากปากแห้ง
.
.
ช่วงเวลานี้คือ ช่วงที่ลูกหลาน
จะจัดเตรียมอาหารใส่ห่อใบตอง
นำไปวางเรียงราย ข้าวกำแพงวัด เจดีย์ธาตุ
ตลอดจนถึงโคนต้นไม้
ตามหัวไร่ปลายนาของตนเอง

.
นัยว่า เพื่อให้วิญญาณบรรพบุรุษ
ได้กินอาหารจากห่อข้าวน้อยนี้
รวมถึงทำเผื่อเจ้าที่เจ้าทาง สัมภเวสี
ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ๆ ด้วย
.
.
แอดมินเองไม่ได้กลับไปเยี่ยมยาม
ปู่ย่าตายายนานหลายปี
เพราะทุกท่านเสียไปหมดแล้ว
.
แต่ก็ได้จัดเตรียมตั้งโต๊ะ
เลี้ยงอาหารคาวหวานแด่วิญญาบรรพบุรุษ
รวมทั้งเจ้าที่เจ้าทาง

ดวงวิญญาณทั้งหลายในที่นาของเราเอง
ตามความเชื่อของ”ฮีตสิบสองคองสิบสี่”
ที่ปู่ย่าตายายยึดถือ นำพาปฏิบัติมาตั้งแต่เด็ก
.
.
ในความเป็นจริงปัจจุบัน
หากคุณอยากให้คนที่คุณรัก
ได้กินของดี
ได้กินอาหารอร่อย
ได้ไปเที่ยวสถานที่ดีดี
.
ควรทำในตอนที่มีโอกาส
หรือทำในตอนที่มีชีวิตอยู่
แบบนี้ จะดีที่สุดครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้